Monday, August 23, 2010

18.India_travel information

มีเรื่องราวอินเดียมาฝากนักเดินทางหน้าใหม่

ว่าจะเขียนเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวในอินเดียให้นักเดินทางหน้าใหม่อ่าน แต่รำคาญที่อินเตอร์เน็ทมันช้า และเรื่องราวมันเยอะมากไม่รู้จะเรียบเรียงออกมายังไง เผอิญได้มีบางคนได้โพสต์ออกมาให้อ่านบ้างแล้ว เราก็เลยโชคดี เขียนบรรยายได้น้อยลงหน่อย และตอนนี้เราก็โพสต์เรื่องอินเดียจบแล้วก็พอมีเวลาเขียน

เราเองไม่ได้เก่งกาจเรื่องการเดินทางท่องเที่ยวหรอก ไปเที่ยวอินเดียแค่ 5 ครั้งเอง (แต่อาศัยว่ามาดนิ่ง จึงไม่ค่อยมีคนมายุ่งกับเรานัก) แต่คิดว่ามีเรื่องราวที่จะเป็นประโยชน์แก่นักเดินทางหน้าใหม่

Tourist must pay more
ไม่ว่านักท่องเที่ยวจะไปเที่ยวที่ประเทศไหนในโลกมักจะถูกหลอก
ถ้าไม่อยากถูกหลอก ก็ต้องหาข้อมูลไว้เยอะๆ จะได้ถูกหลอกน้อยหน่อย
ที่อินเดียมันเหมือนเป็นตำนาน จนกระทั่งมีคนกล่าวว่า ถ้าเจองูกับเจอแขกให้ตีแขกก่อน
บางคนบอกว่าที่เวียดนามร้ายกว่า ที่ประเทศจีนก็ไม่เบา
ประเทศไทยก็อันตรายเหมือนกัน มีแท็กซี่หลอกสาวต่างชาติไปข่มขืนและฆ่าชิงทรัพย์หลายราย
ดังนั้นไม่ว่าจะไปเที่ยวประเทศไหนให้ท่องคาถาไว้ว่า “อย่าประมาท”




สนามบิน
เมื่อเดินทางไปถึงอินเดีย จากสนามบินเข้าไปในเมืองควรนั่งPREPAID TAXI
ที่MUMBAI เราเคยนั่ง PREPAID TAXI จากสนามบินไปสถานีรถไฟVictoria Terminus พอถึงปลายทางคนขับแบมือขอเงินค่าทิป นั่น...ดูมันทำ เราก็หยิบเอกสารที่ได้มาจากเคาน์เตอร์ที่เราจ่ายเงินค่าแท็กซี่ ชี้ให้ดูที่เขียนว่าได้จ่ายเงินรวมทุกอย่างแล้วไม่ต้องให้ทิปอีก แล้วเราก็ยกกระเป๋าลงไป แต่อดใจอ่อนไม่ได้ คิดว่าสร้างทานบารมีสักหน่อย ก็หันกลับมาหยิบเงินให้ทิปเขาไป 20 รูปี ..... สรุปคือไม่จำเป็นต้องให้ทิปเขาหรอก
ที่NEW DELHI เรานั่งAIRPORT BUSเข้าเมือง บอกเขาว่าขอลงใกล้ๆสถานีรถไฟนิวเดลี (ค่าโดยสารสมัยนั้น 50 รูปี)


การแลกเงิน
สมัยก่อนเราแลกเงินที่State Bank of India แต่ระยะหลังเราแลกเงินตามร้านแลกเงินทั่วไป
ที่เมืองTrichy จะมีคนเดินเข้ามาถามเราอยู่เรื่อยว่าแลกเงินไหม เงินบาทเขาก็รับแลก ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนนั้นเราก็ต่อรองกับเขา ถ้าเราพอใจก็แลก ตามโรงแรมก็มีรับแลกเงิน
ที่เมืองUdaipur, Jaisalmer, Pushkar มีร้านรับแลกเงินมากหลายร้าน และได้ราคาดี (ทราเวลเอเจนซี่ก็มีมากมาย)
การใช้บัตรเอทีเอ็มก็สะดวกนะ เรามีแต่เราไม่เคยใช้


การโดยสารรถไฟ
ปกติซื้อตั๋วรถไฟควรซื้อล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ บางขบวนต้องซื้อล่วงหน้า 2-3 สัปดาห์ ไม่งั้นตั๋วเต็ม ไม่มีที่นั่ง ถ้าใครซื้อตั๋วจากเว็บไซต์ได้ก็จะสะดวก แต่ในสถานีใหญ่ๆจะมีtourist quotaบริการนักท่องเที่ยว

การเดินทางโดยรถไฟให้ล่ามโซ่กระเป๋าเดินทางแล้วล็อคกุญแจ ถ้าไม่ได้เตรียมไปก็ไปหาซื้อจากที่โน่น ราคา 100- 200 รูปี กระเป๋าใบเล็กและกล้องถ่ายรูปให้อยู่ติดกับตัวไว้ อย่าห่างตัวแม้แต่นาทีเดียว

อย่ากินน้ำและอาหารจากคนแปลกหน้า มีเรื่องเล่าจนเป็นตำนานไปแล้ว คือมีพระภิกษุเล่าให้เราฟังว่า มีพระภิกษุไทยท่านหนึ่งเดินทางโดยรถไฟแล้วมีคนอินเดียมาตีสนิทมาชวนคุยขอเป็นมิตรด้วย แล้วเอาจาย(ชาร้อนใส่นม)ให้กิน แต่ได้ใส่ยาลงไปในแก้วก่อนแล้ว พระรูปนั้นดื่มไปก็หมดสติ มารู้สึกตัวอีกทีปรากฏว่าอยู่กลางทุ่งนาที่ไหนไม่รู้ ทรัพย์สินหายหมด หลังจากได้รับการช่วยเหลือกลับมา ก็ยังเบลอๆป้ำๆเป๋อๆไปอีกหลายปี

แค่นั้นยังไม่พอ ต่อมาเราได้สนทนากับพระภิกษุอีกท่านหนึ่งบอกว่า เราเดินทางคนเดียวมันอันตราย ถึงเราไม่กินเครื่องดื่มของเขา แต่ถ้าเขามากัน 4-5 คนมารุมล้อมเรายกมือป่ายไปป่ายมา มือเขาทายากล่อมประสาทไว้ ถ้าป้ายมาโดนหน้าเราก็ทำให้เรามึนงงสลึมสลือได้ แล้วเขาก็สามารถหยิบฉวยทรัพย์สิ่งของจากตัวเราได้ แต่ถ้าเรามากัน2-3คนมันก็ไม่กล้า

เขาเล่าว่าตู้นอนรถไฟชั้นหนึ่งก็ไม่ปลอดภัยเพราะมันเปลี่ยวโดยเฉพาะเวลากลางคืน พวกมิจฉาชีพจะคอยดักปล้นเวลาเรามาเข้าห้องน้ำ


การโดยสารรถสามล้อถีบ สามล้อเครื่อง
ให้สื่อสารเรื่องค่าโดยสารใหัเข้าใจชัดเจน เราเจอมาแล้วนั่งสามล้อถีบไปใกล้ๆร้อยกว่าเมตรบอกว่า 5 รูปีเขาพยักหน้า พอลงรถเราหยิบเงินให้เขาบอกว่าไม่ใช่ เขาจะเอา 30 หรือ 50 รูปี ก็เถียงกันเสียงดังจนหลายคนหันมามอง เรานึกขึ้นได้ว่าเถียงกันไปก็เปล่าประโยชน์ เราก็หยิบเงิน 10 รูปีส่งให้แล้วเดินหนีไป

หลังจากนั้นมาเวลาตกลงค่าโดยสาร หรือค่าโรงแรมเราจะเขียนตัวเลขลงบนกระดาษให้เข้าใจตรงกัน บางครั้งเวลานั่งสามล้อเขาบอกราคาแล้ว เราจะหยิบเงินชูให้เขาดูเลยว่าเท่านี้นะ เพราะคนเหล่านี้เป็นคนระดับล่างไม่เก่งเรื่องภาษาอังกฤษหรอก เจอคนพูดเก่งๆก็เป็นภาษาอังกฤษสำเนียงอินเดียน่ะ มันเพี้ยน ฟังยาก



เรื่องที่พัก
พูดจาสื่อสารกับเขาให้ชัดเจนว่าค่าห้องพักคืนละเท่าไร เช็คเอาท์กี่โมง บางแห่งเช็คเอาท์ 12.00 น. บางแห่งเช็คเอาท์ 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่เวลาเราเช็คอิน โดยปกติจะจ่ายค่าห้องตอนเช็คเอาท์ แต่มีบางแห่งขอให้เราจ่ายเงินเลย ถ้าเขาให้ใบเสร็จรับเงินก็ดีไป ถ้าเขาไม่ให้ เราก็จะขอดูสมุดบันทึกรายชื่อผู้เข้าพักว่าเขาได้บันทึกว่าเราจ่ายเงินแล้วนะ เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาทีหลังว่าเรายังไม่ได้จ่ายเงินทั้งๆที่เราจ่ายเงินไปแล้ว

(เคยมีบางท่านมาโพสต์ว่า ตอนเย็นเช็คอินเข้าพักโรงแรม คนโรงแรมบอกลดราคาค่าห้องให้สมมุติว่าคืนละ 500 รูปี พอรุ่งขึ้นเช็คเอาท์เจอคนโรงแรมอีกคนหนึ่งบอกว่าค่าห้องคืนละ 1000 รูปี โดยเอาโบชัวร์แสดงค่าห้องมาให้ดู ก็เถียงกันไปมา ในที่สุดก็ต้องจ่ายเขาไป 1000 รูปี .... ถ้าท่านผู้อ่านเจอแบบนี้จะทำยังไง ...ถ้าเป็นเรา คงจะเอาเลือดหัวแขกออกมั้ง... พูดเล่นน่ะ 555 .....ตอนนี้ยังนึกไม่ออกว่าจะทำยังไงถ้าเจอแบบนั้น)

มีคนถามเราเรื่องการพักที่วัดในมะนาลี
เราไม่เคยติดต่อที่พักล่วงหน้า เมื่อไปถึงที่วัดก็ไปติดต่อพระได้เลย ถ้ามีห้องว่างก็ได้พัก เราไม่รู้เวลาปิดเปิดประตูใหญ่(คือประตูรั้วด้านหน้า)เพราะเราไม่ได้เที่ยวกลางคืน มีดิสโก้เธคในตัวเมืองด้วย(อ้าว...บอกว่าไม่เที่ยวแล้วรู้ได้อย่างไรล่ะ...คือว่าคืนแรกเช็คอินเข้าโรงแรมก็มืดแล้ว เก็บกระเป๋าแล้วออกไปซื้อน้ำผลไม้ และของกินสำหรับวันรุ่งขึ้น กว่าจะกลับก็สองทุ่มแล้วเผอิญไปเห็นเข้าน่ะ....ม่ายด้ายเข้าไปเที่ยวจริงๆน๊า สาบานได้) วัดพุทธทิเบตที่ติดกับAmbassador Resort รั้วลวดหนามด้านข้างไม่ได้ยาวตลอด มีช่องว่างอยู่ สามารถเดินผ่านเข้าออกได้ตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อถึงตัวตึกก็ไขกุญแจเข้าห้องได้เลย(ไม่มีประตูใหญ่ของตึก) Radrang Monastery ประตูรั้วด้านหน้าสูงกว่าเอวนิดเดียวสามารถปีนข้ามได้

การพักที่วัดจะลำบากเรื่อการอาบน้ำ(ดังนั้นนักเดินทางจะต้องอึดหน่อย)เพราะไม่มีน้ำอุ่นอาบ จะบอกหลวงพี่ให้ต้มน้ำให้ก็เป็นเรื่องที่ไม่สมควรทำ หลายปีก่อนนั้นเราไม่ได้เอากาต้มน้ำร้อนหรือขดลวดความร้อนไปด้วยสิ เวลาบ่ายสองหรือบ่ายสามโมงก็กลั้นใจอาบน้ำ อูย หนาว ยังดีที่อยู่แค่ 5-6 วัน ถ้าใครอึดจริงไปขอพักกับพราหมณ์คนไทยก็ได้ เขานอนพักอยู่ในเพิงใกล้ๆกับวัดฮินดูนั่นเอง(เขาก็เคยชวนเราพักเหมือนกัน)

หมายเหตุ – เราแนะนำให้พักเกสต์เฮ้าส์แถวVashisht Hot Spring เพราะราคาถูกกว่าในเมืองมะนาลี บรรยากาศดีกว่า แต่อยู่ไกลตัวเมือง(แค่ 3 กม.เอง) มีห้องพักหลายแห่งเยอะมาก เราเคยพักคืนละ 70 รูปี(ห้องน้ำรวม)

ที่Leh ในLadakh เราเคยพักที่Alchi Monastery ไปถึงก็เข้าไปติดต่อได้เลยว่ามีห้องว่างหรือไม่ คืนละ 100 รูปี ห้องส้วมเป็นlocal toilet ลักษณะเป็นแบบส้วมหลุม ไม่มีห้องอาบน้ำ เวลาบ่ายสอง หรือบ่ายสามโมง ก็หิ้วกระป๋องน้ำไปที่ร่องน้ำที่อยู่แถวนั้น(เขาขุดร่องน้ำกว้าง2คืบลึก1คืบเพื่อนำน้ำมาใช้)แล้วตักน้ำในร่องน้ำมาอาบ อูย หนาว บางครั้งไปพักแบบโฮมสเตย์ก็เจอสถานการณ์แบบนี้เหมือนกัน ต้องตักน้ำในร่องน้ำมาอาบ และlocal toilet

แต่ถ้าพักโรงแรมหรือเกสต์เฮ้าส์ เราก็ให้เขาบริการต้มน้ำให้ กระป๋องละ 5 หรือ 10 รูปี

วัดญี่ปุ่นที่มีShanti Stupa อยู่บนยอดเขา ก็ให้บริการห้องพักเหมือนกัน คืนละ 120 รูปีในสมัยนั้น

หมายเหตุ – เราแนะนำให้พักเกสต์เฮ้าส์ เพราะราคาแพงกว่าพักวัดนิดหน่อย แต่สะดวกสบายกว่า


การเดินเที่ยวในเมืองหรือสถานที่ท่องเที่ยว
อย่าไปในสถานที่เปลี่ยว โดยเฉพาะเวลากลางคืนและเดินทางคนเดียว แต่ตอนกลางวันก็อย่าประมาทนะ ถ้าสถานที่นั้นเปลี่ยวไม่มีคน

ตอนกลางวันที่เราเดินไปเที่ยวSavitri Temple ที่Pushkar เห็นมีนักท่องเที่ยวเดินมาเที่ยวเป็นระยะๆ แต่บางช่วงเวลาก็ทิ้งช่วงไปนานที่ไม่มีนักท่องเที่ยวเดินมา อยู่ดีๆเราก็คิดว่าเอ มันก็เปลี่ยวคนนะ ทำไมเราจึงคิดอย่างนี้ ก็เพราะว่ามีการหลอกนักท่องเที่ยวให้ไปทำการบูชาที่Pushkar Lake แล้วให้จ่ายเงินมากไง เราเจอ 2 ราย

รายแรกเป็นชายสูงอายุ มาเนียนหน่อย เริ่มจากชวนเราคุยเรื่อศาสนาฮินดู เรื่องการทำสมาธิ แล้วก็ชวนเรานั่งสมาธิ เพื่อเราจะได้บุญ มีชีวิตที่ดีขึ้น เขาบอกว่าไม่ต้องเสียเงินอะไรหรอก น่าน...ว่าเข้านั่น เราก็คิดในใจว่า ไม่ได้แดรกกรูหรอก(ในLP guidebook ก็เขียนเตือนไว้) เราตอบว่าเราเพิ่งเดินทางมาถึงยังเหนื่อยอยู่ จิตยังฟุ้ง จิตไม่รวมเป็นสมาธิหรอก เขาก็บอกว่าไม่เป็นไรหรอกใช้เวลาแค่แป๊ปเดียว พยายามพูดหว่านล้อมต่างๆนานา เราก็ตอบเลี่ยงไปเรื่อย แล้วก็รีบชิ่งหนีจากมา

รายที่ 2 เป็นเด็กหนุ่ม เดินเข้ามาชักชวนเราดื้อๆเลย บอกเราว่าpucha คิดเงินไม่แพงหรอก เราตอบปฏิเสธว่าไม่ว่าง แล้วเราก็เดินไป วันถัดมาขณะที่เรากำลังเดินเล่นอยู่ เจ้าหนุ่มคนนี้เดินมาจากไหนไม่รู้ ถามเราว่าวันนี้ว่างหรือยัง จะพาไปบูชา เราตอบว่าไม่ว่าง เขาตอบว่าถ้าว่างเมื่อไหร่มาหาเขานะ แล้วก็จดเบอร์โทรศัพท์มือถือส่งให้เรา ดูมันทำ

มันขึ้นอยู่กับสถานที่และชุมชนนั้นๆด้วย ถ้าเป็นชุมชนแขกเราระวังตัวไม่ประมาท แต่ตอนที่เราไปเที่ยวLadakh ถ้าเราไปเที่ยวในชุมชนที่คนหน้าตาแบบคนลาดัก แบบคนทิเบต เราไม่ได้รู้สึกกลัวอันตรายจากผู้คนเลย เราเดินอยู่คนเดียวผ่านทุ่งนา ป่าเขา จากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง เจอใครก็เอ่ยปากทักทายเขาว่า “จูเล”

พูดถึงสถานที่เปลี่ยวมีอันตรายแล้ว มีเรื่องจะเล่าให้ฟังคือ วัดไทยในอินเดียถูกโจรปล้นมาแล้วเกือบทุกวัด วัดของประเทศอื่นก็โดนเหมือนกัน
วัดป่าพุทธคยามันเข้ามาปล้นตอนกลางคืน มันจับพระมามัด หลวงพี่บอกมันว่าไม่ต้องมัดหรอก อยากได้อะไรก็เอาไป มันเอาไปหมด แจกันทองเหลือง เชิงเทียนทองเหลืองมันก็ยังเอาไป
วัดไทยมคธที่พุทธคยาก็โดนปล้น
วัดกุสาวดีที่เมืองกุสินารา(อยู่ใกล้ๆกับวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์) ก็ถูกปล้น เจ้าอาวาสต่อสู้ขัดขืน เลยถูกแทงไส้ไหล โชคดีที่ไม่ตาย


การซื้อของ
ถ้าเจอคนขายของที่นิสัยไม่ดี หลังจากที่ต่อรองราคาจบสมมุติว่าที่ราคา 50 รูปี เวลาเราหยิบเงิน 50 รูปีให้เขา เขาจะแบมือขอเงินเพิ่มหน้าตาเลย เขาพูดว่า ten rupees more ผู้ซื้อก็ถกเถียงกับคนขายกันใหญ่

หลายปีก่อนเราเคยไปซื้อเสื้อ เขาแขวนเสื้อโชว์และติดราคาไว้ 140 รูปี เราก็เลือกมาตัวหนึ่ง คนขายหยิบใส่ถุงให้เรา เราก็หยิบเงินให้ 140 รูปี คนขายบอกว่า150 รูปี เราก็ชี้ราคาที่ติดไว้ที่เสื้อตัวโชว์เขียนว่า 140 รูปี เขาตอบว่ายังไงรู้ไหม เขาตอบว่าเสื้อตัวที่โชว์นั้นเบอร์ 36 ส่วนเสื้อตัวที่เราซื้อนั้นเบอร์ 38 ซึ่งมีไซส์ใหญ่กว่า ต้องจ่าย 150 รูปี ดูมันพูด .... เราทำยังไงรู้มั้ย...ลองเดาซิ.....เราไม่เถียงกับมันหรอก เราหยิบเสื้อส่งคืนแล้วบอกว่าเอาเงินคืนมา ปรากฏว่าเขารีบบอกว่าตกลง คิดราคา 140 รูปี ..... ให้มันรู้ซะบ้างว่าไผเป็นไผ .... ไม่ได้มีนกเอี้ยงเกาะบนหลังตูนะเฟ้ย ...


สุขภาพ
ไปต่างประเทศอย่าได้เจ็บป่วยเชียวนะ มันลำบาก

ให้เตรียมยาประจำตัวไปให้เพียงพอ รู้สึกว่าร้านขายยาที่Leh มีอยู่แห่งเดียวหรือสองแห่ง ตอนเรานั่งรถเมล์จากLehผ่านถนนที่สูงที่สุดในโลกไปยัง Diskit, Hunder (ใครบอกว่าเดินทางไปคนเดียวไม่ได้ ต้องไปเป็นกลุ่มไม่ต่ำกว่าสี่คนจึงจะขอpermitได้ มันไม่จริง ก็เราไปมาแล้ว เราเดินทางไปคนเดียวก็ได้(มีนักท่องเที่ยวที่เดินทางคนเดียว หลายท่าน)แต่ต้องมีใบpermit ซึ่งมีรายชื่อ4คนโดยมีเราเป็นหนึ่งในรายชื่อ4คนนั้น เวลาผ่านcheck post ก็เอาหนังสือเดินทางกับใบpermit ให้เขาตรวจ โดยไม่ต้องมีอีก3คนที่ปรากฏอยู่ในรายชื่อมาแสดงตัว ...แล้วทำยังไงจึงจะได้ใบpermit นี้มา ก็ให้ทราเวลเอเจนซี่ทำให้ โดยจ่ายค่าดำเนินการให้เขาไป) พอเรามาถึงHunder ปรากฏว่าเป็นไข้ นอนซมอยู่ในเกสต์เฮาส์ มียาแก้ไข้อยู่สิบกว่าเม็ด กินไปทุก4ชม.จนหมดก็ยังไม่หายไข้ ก็ไปตลาดไปหาซื้อยา ปรากฏว่าไม่มีร้านขายยา (ซวยละสิ เอายังไงดี) เผอิญมีโรงพยาบาล(ใหญ่โตเหมือนกัน)เราก็ไปหาหมอ หมอเอาไฟฉายส่องในปากดูภายในลำคอแล้วบอกว่าinfect จ่ายยาแก้อักเสบ แก้ไข้ให้ กินไปวันเดียวหายไข้เลย


หมดมุขแล้วน่ะ นึกไม่ออกว่าจะเขียนบรรยายอะไรแล้ว


แถมท้าย
เราอ่านกระทู้คนอื่น เขาบอกว่าไปอินเดียเดือนกว่าน้ำหนักลดไป 10 กิโล โอ้โห นี่ถ้าไป 4 เดือนก็ลดไป 40 กิโลเลยสิ เท่ากับทำลายสถิติของเราเลย เราเดินทางครั้งนี้ประมาณ 2 เดือน หรือเดินทางไปมองโกเลียเดือนกว่า น้ำหนักลดไป 7 กิโล
แต่ปีพ.ศ. ๒๕๔๖ ไปอินเดีย 4 เดือน น้ำหนักลดลงไป 20 กิโล จาก 72 กิโล เหลือ 52 กิโล กลับมา พ่อแม่ญาติพี่น้องตกใจกันหมด แต่เราไม่ได้รู้สึกอ่อนเพลียอะไรเลยนะ กลับรู้สึกเบาสบายตัวคล่องแคล่วอีกต่างหาก








มีคำพูดว่า “เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก”
มันลำบากยังไงอ่ะ
เรารู้แต่ว่า “ได้เกิดเป็นหญิงไทยนั้นโชคดีแล้ว ดีกว่าเกิดเป็นหญิงอินเดีย”



อินเดียให้ความสำคัญกับงานแต่งงานอย่างยิ่งยวด

คู่บ่าวสาวไหนแต่งงาน ถ้าเป็นคนมีฐานะทางเศรษฐกิจดี จะเลี้ยงฉลอง กันอย่างเอิกเกริก และติดต่อกันหลายๆวัน ดื่ม กิน ใช้จ่ายกันอย่างเต็มเหนี่ยว

รูปแบบการแต่งงานของอินเดีย ยังมีระบบชนชั้น วรรณะ และธรรมเนียมต่างๆเหมือนสองพันปีที่แล้ว ดังนั้น ฝ่ายหญิงก็ยังต้องสู่ขอผู้ชายเช่นเดิม โดยเฉพาะฮินดู แต่ถึงจะเป็นศาสนาอื่น เช่น อิสลาม หรือคริสต์ ผู้หญิงก็ยังต้องขอผู้ชายเหมือนกัน ยกเว้นแต่พวกชนเผ่าที่อยู่นอกๆไป เป็นอันว่า ชายที่รูปชั่วตัวดำและยากจน ยังอาภัพวาสนาเหมือนเดิม

สินสอดทองหมั้น “ผู้หญิงเป็นผู้จ่ายทั้งหมด”
สินสอด หรือที่เรียกว่า dowry ดาวรี่ นั้น ก็แล้วแต่จะตกลงกัน แต่อย่างน้อยไม่ต่ำกว่าแสนรูปี โดยทั่วไปประมาณสองแสนถึงห้าแสน รายที่ฝ่ายชายมีชาติ ตระกูลดี อาจถึงล้าน แถมยังพ่วงทรัพย์สินอื่นๆอีก เช่นที่ดิน บ้าน รถ ตู้เย็น แล้วแต่พ่อแม่ฝ่ายชายจะเรียก
ส่วนทองหมั้น ผู้หญิงก็เป็นฝ่ายจ่ายอีกนั่นเอง โดยจะให้เงินเจ้าบ่าวไปเลือกซื้อมามอบให้เจ้าสาวประดับประดาในวันแต่ง รวมๆแล้วก็ประมาณล้าน ถึงล้านกว่ารูปี


ในอินเดีย การแต่งงานแต่ละปีมีมูลค่าประมาณ 2-6,000,000,000,000 (2-6 ล้านล้าน) รูปี
ตัวอย่าง ในปี 2008 มีมูลค่า 4,670,000,000,000 รูปี คิดเป็น 12% ของ GDP ของอินเดีย เป็นอันดับสี่รองจากด้านอื่นๆ เรียงลำดับคือ อันดับหนึ่ง ภาคสินค้าและบริการ 60% ภาคอุตสาหกรรม 22.5% ภาคเกษตร 17.47% เพราะฉะนั้น จึงมีมูลค่ามากกว่าเงินกระตุ้นเศรษฐกิจในภาวะถดถอยของกระทรวงการคลัง ที่อัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในระบบจำนวน 1,860,000,000,000 รูปี เสียอีก

คนอินเดียโดยปกติจะเป็นคนตระหนี่ อดออมมาก ขนาดเทียนวันเกิดชุดเดียวใช้กัน 3-5 ปี แต่สำหรับงานแต่งแล้วถือเป็นงานที่สำคัญสุดในชีวิต และเป็นหน้าเป็นตาของครอบครัว ดังนั้น ประมาณหนึ่งในห้าของทรัพย์สินที่หาได้ทั้งหมดในชีวิตจะถูกเอาไปใช้ในงานแต่งงาน

พ่อแม่ที่มีลูกสาวจะเริ่มเก็บเงินตั้งแต่วันแรกที่ลูกสาวเกิดเลย เพื่อเอามาใช้ในวันแต่งงาน และงานแต่งงานก็ถือว่า เป็นหน้าเป็นตาของครอบครัวนั้นๆ จึงทุ่มกันสุดตัว ไม่มีกินไม่ว่า ขอรักษาหน้าไว้ก่อน

เครื่องแต่งกาย เจ้าบ่าวนั้นไม่สิ้นเปลืองนัก แต่ถึงจะหรูอย่างไร เจ้าสาวก็เป็นฝ่ายจ่ายอยู่ดี ส่วนเจ้าสาวนั้นไม่ต้องห่วง ต้องทุ่มกันสุดตัว ชุดส่าหรี ก็ต้องแบบแพงๆ ชุดละหลายพันถึงเป็นหมื่น และอาจใช้ถึงสามชุด ตามแต่ฐานะบ้านเจ้าสาว ดังนั้น จึงส่งผลให้เกิดธุรกิจเช่าชุดเจ้าสาว

สถานที่จัดงาน ต้องจ่ายแพงเหมือนกัน ส่วนใหญ่จะเช่าฮอลล์ ค่าเช่าก็หลักพันรูปี ถ้าเป็นโรงแรมจะแพงมากเป็นหมื่น จึงมีธุรกิจสร้างฮอลล์ให้เช่าเป็นสถานที่แต่งงานเท่านั้น คนไทยอาจคิดว่า จะอยู่รอดหรือ แต่ที่อินเดีย เป็นธุรกิจที่รายได้ดีมาก เพราะคนอินเดียแต่งงานกันทั้งปี ปีละประมาณ ยี่สิบล้านคน

ธุรกิจงานเลี้ยงเป็นอีกอย่างที่มีเอี่ยวในขุมทรัพย์งานแต่งของอินเดีย เพราะในงานแต่งจะเลี้ยงกันไม่อั้นเลยทีเดียว เมืองไทย แขกสองร้อยก็ว่าเยอะ แต่ที่นี่อย่างต่ำต้องห้าร้อย โดยทั่วไปก็ประมาณพันคน ขนกันมากินทั้งหมู่บ้านก็ว่าได้ แล้วไม่ต้องหวังซองช่วยงาน ที่นี่ไม่มีรับซองช่วยงาน มีแต่ช่วยกินอย่างเดียว

ค่าใช้จ่ายแต่ละงาน อย่างต่ำสุดสำหรับแบบจนๆ ประมาณ 1-300,000 รูปี ส่วนใหญ่ระดับบ้านๆ ก็ 3-500,000 รูปี ถ้าระดับชนชั้นกลาง ก็ประมาณ 500,000-1,500,000 รูปี ถ้าจะคิดเป็นเงินบาทไทย อัตราแลกเปลี่ยน หนึ่งรูปีเท่ากับประมาณ 75 สตางค์

สาเหตุที่ผู้หญิงอินเดียต้องกระเสือกกระสนแต่งงานให้ได้ เพราะผู้หญิงที่ไม่ได้แต่งงานจะไม่ค่อยได้รับเกียรติทางสังคม ถูกมองว่าไม่มีคุณสมบัติดีพอ จึงไม่มีใครเอาไปเป็นภรรยา หญิงอินเดียเมื่อแต่งงานแล้วจะป้ายผงสีแดงที่เหนือหน้าผากใกล้ๆตีนผม เรียกว่า บินดิ และใส่กำไล บางท้องถิ่นก็สวมแหวนที่นิ้วเท้า เพื่อประกาศให้คนได้รับรู้

การแต่งงานในอินเดีย 90% เป็นการจัดการของพ่อแม่ อีกสิบเปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่แต่งด้วยความรัก การเลือกเจ้าบ่าวจะคำนึงถึงชาติ ตระกูล วรรณะ การศึกษา และตัวนี้เองเป็นตัวกำหนดค่าสินสอดอีกเช่นกัน

No comments:

Post a Comment