Friday, August 13, 2010

3.Indonesia _Borobudur

The Last Journey of Backpacker
การเดินทางครั้งสุดท้ายก่อนแขวนเป้

3.Indonesia _Borobudur



๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

๐๙.๐๐ น. ออกจากที่พักเดินตามถนนไปยังทิศตะวันตก ถึงสี่แยกแล้วข้ามถนนไปยังฝั่งตรงข้าม รอรถเมล์ธรรมดาสาย5(ค่าโดยสาร 2,500Rps.)เพื่อเดินทางไปยัง Jombor Bur Terminal จากJomborนั่งรถเมล์ไปBorobudur ใช้เวลาประมาณ ๑ ชม. ค่าโดยสาร 15,000 Rps. ระหว่างทางที่รถจอดรับส่งผู้โดยสารก็จะมีกลุ่มนักดนตรีเปิดหมวกขึ้นมาบนรถเป็นระยะๆ มาเล่นกีต้าร์ร้องเพลงและขอเงิน
๑๗.๔๐ น. นั่งรถเมล์กลับมายอกยาการ์ตา รถมาจอดส่งป้ายสุดท้ายที่ไหนก็ไม่รู้(ไม่ใช่Jombor) เราก็เรียกมอเตอร์ไซค์รับจ้างไปส่งที่พัก เขาบอก 20,000Rps. เราต่อเหลือ15,000Rps.



พุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 6 การค้าทางบกผ่านเส้นทางสายไหมถูกจำกัดเนื่องจากการขยายตัวในตะวันออกกลางของจักรวรรดิเปอร์เซีย และการเป็นศัตรูกับโรม ชาวโรมันที่ต้องการสินค้าจากตะวันออกไกลจึงทำการค้าทางทะเล ติดต่อระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับจีน ผ่านอินเดีย ในช่วงเวลานี้เองอินเดียมีอิทธิพลเหนือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาก ตั้งแต่ภาคใต้ของพม่า ภาคกลางและภาคใต้ของไทย กัมพูชาตอนล่างและภาคใต้ของเวียดนาม การค้าชายฝั่งเจริญขึ้นมาก

ผลจาการเผยแผ่อารยธรรมอินเดียเข้าสู่บริเวณนี้ ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตแพร่เข้ามาพร้อมกับศาสนาพุทธทั้งฝ่าย เถรวาทและมหายาน ศาสนาพราหมณ์ได้เผยแผ่เข้า มาในบริเวณนี้เช่นกัน พร้อมกับวรรณคดีสำคัญ คือ รามายณะและมหาภารตะ

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 – 18 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจักรวรรดิที่รุ่งเรืองทางด้านพุทธศาสนาและศิลปะ อยู่สองแห่ง ความเชื่อสำคัญในยุคนี้เป็นแบบมหายาน จักรวรรดิที่มีอิทธิพลทางใต้บริเวณหมู่เกาะ คือ อาณาจักรศรีวิชัย ส่วนทางเหนือ คือ อาณาจักรขอมหรือเขมรโบราณ ที่มีการสร้างรูปพระโพธิสัตว์มาก

อาณาจักรศรีวิชัย

นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าอาณาจักรศรีวิชัยมีศูนย์กลางอยู่มี่ปาเล็มบัง บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย[24] นับถือพุทธมหายานหรือวัชรยานภายใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์ หลวงจีนอี้จิงบันทึกไว้ว่าที่ปาเล็มบังมีภิกษุมากกว่า 10,000 รูป ท่านอตีศะเคยมาศึกษาที่นี่ ก่อนเข้าไปเผยแผ่พุทธศาสนาในทิเบต

ศิลปะทางพุทธศาสนาของศรีวิชัยแพร่หลายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า ศิลปะศรีวิชัย ส่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ คือ บุโรพุทโธ (สร้างเมื่อราว พ.ศ. 1323) ในเกาะชวา อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมลงเนื่องจากความขัดแย้งกับราชวงศ์โจฬะในอินเดีย ก่อนจะรับอิทธิพลอารยธรรมอิสลามในพุทธศตวรรษที่ 18


บรมพุทโธ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บุโรพุทโธ

มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ (ภาษาอินโดนีเซีย: Chandi Borobudur) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในภาคกลางของเกาะชวา ห่างจากยอกยาการ์ตาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 40 กิโลเมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 1293 - 1393 โดยบุโรพุทโธเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ถ้าไม่นับนครวัดของกัมพูชาซึ่งเป็นทั้งศาสสถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ บุโรพุทโธจะเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ในปีพ.ศ. 2534 องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้บุโรพุทโธเป็นมรดกโลก

ประวัติของบุโรพุทโธ

บุโรพุทโธถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร เป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฑุ ทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก ห่างจากยอกยาการ์ตา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร บุโรพุทโธสร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้งด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั้งลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้นบนเป็นลานวงกลม และบนลานกลมชั้งสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป

แผนผังของบรมพุทโธ

เชื่อกันว่าแผนผังของบุโรพุทโธคงหมายถึง “จักรวาล” และอำนาจของ “พระอาทิพุทธเจ้า” ได้แก่พระพุทธเจ้าผู้ทรงสร้างโลกในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งแสดงโดยสถูปที่บนยอดสุดก็ได้แผ่ไปทั่วทั้งจักรวาล ซึ่งจักรวาลนี้แบ่งออกเป็น ๓ ตอน คือชั้นบนสุดได้แก่ “อรุปธาตุ” ชั้นรองลงมาคือ “รูปธาตุ” และชั้นต่ำสุดคือ “กามธาตุ” พระอาทิพุทธเจ้าในพุทธศาสนาลัทธิมหายานเองก็ทรงมี ๓ รูป (ตรีกาย) เพื่อให้ตรงกับธาตุ ทั้งสามนี้” “ธรรมกาย” ตรงกับ “อรูปธาตุ” ส่วน “สัมโภคกาย” (ประกอบด้วยพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์หลายองค์) ตรงกับ “รูปธาตุ” และ “นิรมานกาย” (ประกอบด้วยพระมนุษยพุทธเจ้า) สำหรับ “กามธาตุธรรมกาย” ที่ตรงกับ “อรูปธาตุ” นั้นไม่มีภาพสลักตกแต่งแต่ก็มี “เจดีย์ทึบ” ล้อมรอบไว้โดยเจดีย์ทึบเจาะเป็นรูโปร่งสามแถวและมี “พระพุทธรูปนั่งปางปฐมเทศนา” อยู่ภายใน (ยังถกเถียงกันคือ บางท่านก็ว่าเป็น “พระธยานิพุทธไวโรจนะ” แต่บางท่านก็ว่าเป็น “พระโพธิสัตว์วัชรสัตว์” ประจำองค์พระอาทิพุทธเจ้า) ส่วนฐานที่ถัดลงมาอีกสี่ชั้นได้แก่ “รูปธาตุ” ที่พระอาทิพุทธเจ้าได้สำแดงพระองค์ออกมาเป็น “พระธยานิพุทธเจ้าห้าพระองค์” คือ “พระอักโษภวะปางมารวิชัยทางทิศตะวันออก, พระรัตนสัมภวะปางประทานพรทางทิศใต้, พระอมิตาภะปางสมาธิทางทิศตะวันตก” และ “พระอโมฆาสิทธะปางประทานอภัยทางทิศเหนือ” ส่วนองค์ที่ห้านี้อยู่เหนือผนังฐานยอดสุดยังเป็นปัญหาเพราะทรงแสดง “ปางแสดงธรรม” (วิตรรกะ) ที่บางท่านเชื่อว่าเป็น “พระธยานิพุทธเจ้า” องค์สูงสุดคือ “พระไวโรจนะ” แต่พระไวโรจนะโดยปกติทรงแสดงปาง “ประทานปฐมเทศนา” ก็เลยมีบางท่านเชื่อว่าพระพุทธรูปที่ทรงแสดงปาง “ปางวิตรรกะ” บนฐานชั้นยอดสุดหมายถึง “พระสมันตภัทรโพธิสัตว์” เพราะ “พระพุทธศาสนา” ลัทธิมหายานนิกาย “โยคาจารย์” ได้ยกย่องพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ขึ้นเสมอเหมือน “พระธยานิพุทธเจ้า” อีกพระองค์อีกทั้งภาพสลักบนผนังระเบียงชั้นที่สี่ก็เกี่ยวกับคัมภีร์ “คัณฑพยุหะ” และ “ภัทรจารี” ที่ยกย่องพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ขึ้นเป็น “พระธยานิพุทธเจ้า” ส่วน “พระธยานิพุทธไวโรจนะ” ก็คือพระพุทธรูปนั่งประทานปฐมเทศนาในเจดีย์รายสามแถวนั่นเองและ “พระธยานิพุทธเจ้า” อีกสี่พระองค์คือ “พระอักโษภยะ, รัตนสัมภวะ, อมิตาภะ, อโมฆสิทธะ” จึงประดิษฐานอยู่ในซุ้มเหนือฐานชั้นที่ ๑-๔ แต่ละทิศตามลำดับ แต่บางท่านก็เชื่ออีกว่าพระพุทธรูปในซุ้มบนยอดฐานชั้นที่ ๑ หมายถึง “พระมนุษยพุทธเจ้าสี่พระองค์” เพราะตรงกับกามธาตุได้แก่ “พระโกนาคมทางทิศตะวันออก, พระกัสสปะทางทิศใต้, พระศรีศากยมุนีทางทิศตะวันตก, พระศรีอาริยเมตไตรยทางทิศเหนือ” ด้วยเหตุนี้เมื่อมีผู้มากระทำประทักษิณโดยเดินเวียนขวารอบ “บุโรพุทโธ” ขึ้นไปแต่ละชั้นก็จะพ้นจากกามธาตุขึ้นไปยังรูปธาตุและอรูปธาตุตามลำดับโดย “พระพุทธรูป” ในซุ้มเหนือฐานห้าชั้นมีทั้งหมด “๔๓๒ องค์” ถ้านับรวมพระพุทธรูปในเจดีย์รายอีก “๗๒ องค์” ก็มีจำนวนทั้งสิ้น “๕๐๔ องค์”

พระเจดีย์องค์ใหญ่” ที่อยู่บนยอดสูงสุดของ “บุโรพุทโธ” ก็คือสัญลักษณ์แทนองค์ “พระอาทิพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้า “สูงสุด” ในคติพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่เป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง ส่วน “สถูปเจดีย์” ที่มีรูปทรงโอ่งคว่ำเป็นแบบทึบนั้นก็คือสัญลักษณ์ของ “อรูปธาตุ” (ไม่ปรากฏร่างกาย) และเป็นเพียงสัญลักษณ์พระสถูปเจดีย์ดังกล่าวอันเป็นพลังสากลทั่วไปที่แผ่ไป ทั่ว “วสกลจักรวาล” ซึ่งก็คือพุทธานุภาพพุทธบารมีแห่งองค์ “พระอาทิพุทธเจ้า” (อาทิหมายถึงต้นกำเนิดของสรรพสิ่งบนโลก) “พระอาทิพุทธเจ้า” ทรง “นิรมานกาย” (แบ่งพระวรกาย) ออกได้เป็นสามรูปที่เรียกว่า “ตรีกาย” อันได้แก่ “ธรรมกาย” คือเป็นอรูปธาตุ “สัมโภคกาย” ก็คือ “การเนรมิตกาย” ออกมาเป็น “พระธยานิพุทธเจ้า” และ “พระโพธิสัตว์” ผู้เป็นบริวารของพระองค์อันเป็นรูปธาตุของพระอาทิพุทธเจ้า “นิรมานกาย” ก็คือการเนรมิตกายของ พระธยานิพุทธเจ้าออกมาเป็น “พระมานุษิพุทธเจ้า” อีกขั้นตอนหนึ่ง (เป็นกายขั้นที่สาม) อันเป็นกามธาตุของพระอาทิพุทธเจ้า ส่วน “ธรรมกาย” หรือ “อรูปธาตุ” ของพระอาทิพุทธเจ้าได้ถูกกำหนดสัญลักษณ์ออกมาเป็น “พระสถูปเจดีย์ทรงโอ่งคว่ำทึบ” ขนาดใหญ่องค์เดียวที่ถือเป็น “ศูนย์กลางของบุโรพุทโธ” ประดิษฐานอยู่บนลานชั้นยอดอันเป็นชั้นบนสุดของบุโรพุทโธ โดยไม่มีภาพสลักตกแต่งรายละเอียดใด ๆ และถัดออกมาเป็น “พระสถูปเจดีย์เจาะสลักเป็นรูโปร่งสามแถว” ที่ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชรแสดงปางปฐมเทศนา (จีบนิ้วพระหัตถ์) โดยมีพระสถูปเจดีย์และพระพุทธรูปประดิษฐานภายในทั้งหมด “๗๒ องค์” และแบ่งออกเป็นแถวชั้นใน ๑๖ องค์ แถวชั้นกลาง ๒๔ องค์ และแถวชั้นนอก ๓๒ องค์ ทางด้านฐานของพุทธศาสนสถานบุโรพุทโธที่ถัดลงมาอีกสี่ชั้นเป็นสัญลักษณ์ของ “รูปธาตุ” หรือ “สัมโภคกาย” ที่ “พระอาทิพุทธเจ้า” ทรงเนรมิตกายของพระองค์ออกมาเป็น “พระธยานิพุทธเจ้าห้าพระองค์” คือ “พระอักโษภยะธยานิพุทธเจ้าปางมารวิชัย” ประดิษฐานทางทิศตะวันออกของบุโรพุทโธ “พระรัตนสัมภวะธยานิพุทธเจ้าปางประทานพร” ประดิษฐานทางทิศใต้ “พระอมิตาภะธยานิพุทธเจ้าปางสมาธิ” ประดิษฐานทางทิศตะวันตก “พระอโมฆสิทธิธยานิพุทธเจ้าปางประทานอภัย” ประดิษฐานทางทิศเหนือและ “พระไวโรจนะธยานิพุทธเจ้าปางแสดงธรรม” ประดิษฐานอยู่เหนือผนังชั้นยอดบนสุด

และในชั้นที่ ๑ มี “พระพุทธรูป” ประดิษฐานในซุ้มบนยอดฐานเป็นพระพุทธรูปของ “พระมานุษิพุทธเจ้า” ซึ่งอยู่ในระดับ “กามธาตุ” หรือระดับของ “โลกมนุษย์” ที่ “พระอาทิพระพุทธเจ้า” คือพระพุทธเจ้าที่สูงสุดในคติของ “พระพุทธศาสนานิกายมหายาน” ได้นิรมานกายคือการ “แบ่งภาค” ของพระองค์ออกมาเป็นพระอาทิพระพุทธเจ้าโดยใน “ภัทรกัปป์” นี้ทรงแบ่งภาคออกมาเป็น “พระธยานิพุทธเจ้า ๕ พระองค์” ด้วยกันคือ ๑. “พระอักโษภยะธยานิพุทธเจ้า” ประจำอยู่ทางทิศตะวันออกของบุโรพุทโธและพระอักโษภยะธยานิพุทธเจ้านี้ทรง นิรมานกายแบ่งภาคออกมาเป็น “พระมานุษิพุทธเจ้า” ที่ทรงพระนามว่า “พระกกุสันโธพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าใน “พุทธันดรที่ ๑” ในภัทรกัปป์ ๒. “พระรัตนสัมภวะธยานิพุทธเจ้า” ประจำอยู่ทางทิศใต้ของบุโรพุทโธที่ทรงนิรมานกายแบ่งภาคเป็น “พระมานุษิพุทธเจ้า” ทรงพระนามว่า “พระโกนาดมน์พุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าใน “พุทธันดรที่ ๒” ในภัทรกัปป์ ๓. “พระอโมฆะสิทธิ์ธยานิพุทธเจ้า” ประจำอยู่ทางทิศเหนือของบุโรพุทโธทรงนิรมานกายแบ่งภาคเป็น “พระมานิษิพุทธเจ้า” ทรงพระนามว่า “พระกัสสปะพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าใน “พุทธันดรที่๓” ในภัทรกัปป์ ๔. “พระอมิตภะธยานิพุทธเจ้า” ประจำอยู่ทางทิศตะวันตกของบุโรพุทโธทรงนิรมานกายแบ่งภาคออกมาเป็น “พระมานุษิพุทธเจ้า” ทรงพระนามว่า “พระศากยมุนี” ซึ่งเป็น “พุทธันดรที่ ๔” หรือพระพุทธเจ้า “องค์ปัจจุบัน” ของภัทรกัปป์ ๕. “พระไวโรจนะธยานิพุทธเจ้า” ประดิษฐานอยู่ตรงกลางเหนือผนังชั้นบนยอดสุดของชั้นที่ ๕ ของบุโรพุทโธ (เปรียบได้กับการเป็นภาคกลางหรือทิศภาคกลาง) ทรงนิรมานกายแบ่งภาคเป็น “พระมานุษิพุทธเจ้า” ทรงพระนามว่า “พระเมตไตรยพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้า “องค์สุดท้าย” เป็น “พุทธันดรที่ ๕” ในภัทรกัปป์และเป็น “พระอนาคตพุทธเจ้า” ที่ยังไม่มาตรัสรู้เพราะศาสนาของ “พระศากยมุนีพุทธเจ้า” (พุทธันดรที่ ๔) ยังไม่อันตรธานหายไปจากโลกนั่นเอง

ฐานชั้นล่างสุดซึ่งเป็นฐานชั้นที่ ๑ ของ “บุโร พุทโธ” จะมีภาพสลักทั้งหมด “๑๖๐ ภาพ” โดยทุกภาพจะเป็นการเล่าเรื่องราวตาม “คัมภีร์ธรรมวิวังค์” ว่าด้วยเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ซึ่งก็คือเรื่องของ “บาป บุญ คุณ โทษ” นั่นเองแต่ต่อมาภาพเหล่านี้ถูกลานประทักษิณขนาดใหญ่ (ลานที่เดินเวียนขวาตามพุทธสถาน) ทับถมไว้กระทั่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ นักโบราณคดีชาว “ฮอลันดา” ได้ค้นพบภาพเหล่านี้โดยทำการรื้อลานประทักษิณออกและทำการถ่ายภาพ “ภาพสลัก” ทั้งหมดแล้วนำมาประกอบไว้ดังเดิมที่ปัจจุบันมีการเปิดแสดง ให้เห็นภาพสลักประมาณ ๒-๓ ภาพ ตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพราะภาพสลักทั้ง ๑๖๐ ภาพนี้ส่วนใหญ่สะท้อนให้เห็น “วิถีชีวิตของชาวชวา” ใน “พุทธศตวรรษที่ ๑๔” ได้เป็นอย่างดีและผนังด้านในของของระเบียงชั้นที่๑มีความสูง ๓.๖๖ เมตร ประดับตกแต่งด้วยภาพสลักแนวละ “๑๒๐ ภาพ” และระหว่างภาพจะมีลายก้านขดคั่นส่วนภาพแนวบนแสดงเรื่องราวของ “พระพุทธประวัติ” ฝ่ายมหายานตาม “คัมภีร์ลลิตวิสูตร” หรือ “คัมภีร์ปฐมสมโพธิฝ่ายมหายาน” นับตั้งแต่การ “เสด็จประสูติ, บำเพ็ญบารมี” ไปจนถึงการแสดง “ปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตนสูตร” ส่วนภาพด้านล่างสลักภาพอธิบายเรื่องราวของ “ชาดก” และ “นิยายอวตาน”

ทางด้านผนังด้านนอกของระเบียงชั้นที่ ๑ นั้น เมื่อแก้ไขให้สูงขึ้นหลังจากที่มีการสร้างลานทักษิณรอบนอกแล้ว ผนังด้านในก็ยังมีการแกะสลักเป็น “ภาพชาดก” อีกโดยมีแนวบนทั้งหมด “๓๗๒ ภาพ” ซึ่งเป็นการแสดงที่นำเค้าโครงเรื่องที่มาจาก “ชาตกมาลา” (ชาดกมาลา) บทนิพนธ์ของท่าน “อารยศูร” และภาพในแนวล่างเล่าเรื่อง “ชาดก” และ “อวตาน” อีกเช่นกันนอกจากนั้นบนยอดฐานแต่ละชั้นจะมีการก่อสลักหินเป็นซุ้มประดิษฐาน “พระพุทธรูป” อยู่ภายในโดยในซุ้มชั้นที่ ๑ สำหรับประดิษฐาน “พระมานุษิพุทธเจ้า” และซุ้มชั้นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจะสลักลวดลายและประ ดับเพชรพลอยบนยอด โดยซุ้มที่อยู่สูงขึ้นไปบนยอดเป็นซุ้มสัญลักษณ์ของ “พระธยานิพุทธเจ้า” โดยใช้รูปสถูปเจดีย์จำลองเป็นสัญลักษณ์แทนและอยู่สูงขึ้นไป

และในระเบียงชั้นที่ ๒ ด้านในของผนังชั้นนอกอาจจะมีการสลักเรื่อง “ชาดก” ต่อแต่ยังไม่แล้วเสร็จส่วนผนังชั้นในสลักภาพสลักจำนวน “๑๒๘ ภาพ” และเล่าเรื่องราวตาม “คัมภีร์คัณฑพยุหะ” ซึ่งเป็นชาดกที่เล่าเรื่องราว “พระสุธนกับนางมโนราห์” ตอนที่ “พระสุธน” ไปท่องเที่ยวศึกษาหาความรู้ที่ในตอนแรกได้พบกับ “พระโพธิสัตว์มัญชูศรี” ก่อนแล้วจึงท่องเที่ยวหาความรู้ต่อไปแต่ในที่สุดก็ย้อนกลับมาหา “พระโพธิสัตว์มัญชูศรี” อีกครั้งและ “ระเบียงชั้นที่ ๓” ทั้งผนัง ชั้นนอกและชั้นในสลักเล่าเรื่องราวประวัติ “พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย” ถึงในอนาคตหลังจากที่ “พุทธันดร ที่ ๔” (พุทธันดรในปัจจุบัน) สิ้นสุดลง “พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย” ก็จะเสด็จมาตรัสรู้เป็น “พระพุทธเจ้า” ทรงพระนามว่า “พระเมตไตรยพุทธเจ้า” ซึ่งก็คือ “พระอนาคตพุทธเจ้า” นั่นเอง โดยรอบ ๆ ของ “บุโรพุทโธ” ตามฐานระเบียงชั้นต่าง ๆ มีการสลักภาพรวมแล้วได้ประมาณ “๑,๓๐๐ภาพ” มีความยาวต่อกันเกือบ “๔ กิโลเมตร”

ทางทิศตะวันออก เป็นประตูทางขึ้นหลักที่สำคัญของบุโรพุทโธที่ปรากฏ “สิงห์ทวารบาล” สลักด้วยศิลาตั้งอยู่ภายนอกทางขึ้นทั้งสองข้าง ส่วนประตูทางขึ้นของแต่ละทิศที่สามารถเดินผ่านตรงไปยังลานชั้นบนได้ประกอบ ด้วย “ลายหน้าบาล” และ “ภมร” ในแต่ละชั้นจะมีท่อระบายน้ำโดยชั้นล่างจะสลักหินเป็น “รูปกุมาร” มีคนแคระแบกรับไว้และชั้นบนสลักเป็น “รูปหน้ากาล” โดยลายหน้ากาลนี้จัดเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของ “ศิลปะชวา” ที่มีความหมายว่า “กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสิ่ง ดังนั้นสัปปุรุษทั้งหลายพึงไม่ประมาท” จึงจัดเป็น “พุทธปรัชญามหายาน” ได้เป็นอย่างดี





คนพยายามทำลายบุโรพุทโธ ด้วยระเบิด อีกทั้งภัยจากภูเขาไฟระเบิดกี่ครั้งก็ยังอยู่ แม้ถูกกลบมนุษย์ก็กู้ขึ้นมาได้ จึงถือเป็นความศักดิ์สิทธิ์ ที่เปี่ยมด้วยความศรัทธา ถึงแม้วันนี้จะเปลี่ยนไปอยู่ในมือของผู้ดูแลที่นับถือศาสนาอื่น แต่ว่าความศักดิ์สิทธิ์ก็ยังคงอยู่ ชาวพุทธจากทุกแห่งทั่วโลกก็ยังมาที่นี่ มาสวดมนต์ มันเป็นพลังของความศรัทธาจากจิตใจที่ถ่ายทอดไว้ เพราะฉะนั้นตัวโบราณสถานแม้จะถูกทำลายกลบหายก็จะถูกขุดขึ้นมาใหม่ นับเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่ในชีวิต ต้องมา บางทีอาจไม่มีโอกาสเผยแผ่พระพุทธศาสนาในด้านของธรรมะแต่ก็มีโอกาสเผยแผ่ใน ด้านของประติมากรรม โบราณสถานที่ยิ่งใหญ่ แม้ต่างศาสนามาก็ต้องประทับใจในความยิ่งใหญ่ของ “บุโรพุทโธ”



























































































































































No comments:

Post a Comment