Friday, August 13, 2010

2.Indonesia_Prambanan, Dieng Plateau

The Last Journey of Backpacker
การเดินทางครั้งสุดท้ายก่อนแขวนเป้

2.Indonesia _Prambanan, Dieng


๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

นั่งรถTrans Jogjiaสาย1Aที่บริเวณหน้าInna Garuda Hotel ค่าโดยสาร 3,000 Rps. ไปลงสุดสายที่Prambanan
ตอนเย็นกลับมาซื้อทัวร์ไปDieng Plateauวันรุ่งขึ้น 175,000 Rps.


๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

๐๗.๐๐ น. รถมารับหน้าที่พักเดินทางไป Dieng Plateau มีผู้โดยสารทั้งหมด ๔ คน จ่ายเงินให้ไกด์50,000 Rps. เป็นค่าเข้าชมสถานที่ต่างๆ ชมเสร็จกลับมาถึงที่พัก ๑๗.๐๐ น.



ลอกเขามาให้อ่าน

อ.เผ่าทอง กล่าวว่า “คำว่า จันทิ หมายถึงศาสนสถานที่บรรจุเถ้ากระดูก หรืออัฐิของผู้ตาย หลังกลางที่มีห้องเข้าไป ภายในประดิษฐานรูปพระอิศวรสูง 3-4 เมตร เป็นหินแกะสลัก เราเชื่อว่าใต้ฐานน่าจะบรรจุพระบรมอัฐิของกษัตริย์ในราชวงศ์ไศเลนทร์ ที่ก่อสร้างศาสนสถานแห่งนี้”



พรัมบานัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พรัมบานัน คือวัดในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในเขตชวากลาง ห่างจากเมืองยอกยาการ์ตาไปทาง ตะวันออกประมาณ 18 กิโลเมตร ตัววัดนั้นสร้างขื้นเมื่อราวปี พ.ศ. 1390 แต่หลังจากสร้างเสร็จได้ไม่นาน ตัววัดก็ถูกทอดทิ้งและถูกปล่อยให้ทรุดโทรมตามกาลเวลา จนเมื่อถึงปี พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) จึงได้มีการเริ่มบูรณะวัดขึ้นมา การบูรณะของสิ่งก่อสร้างหลักสิ้นสุดลงเมื่อปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953)
ในปัจจุบัน พรัมบานันถูกยกย่องให้เป็นมรดกโลกและนับได้ว่าเป็นหนึ่งในศาสนสถานในศาสนา ฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ตัววัดโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมและความใหญ่โตของปรางค์ซึ่งมีความสูงถึง 47 เมตร

มรดกโลก
ปราสาทหินพรัมบานันได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการ มรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 ภายใต้ชื่อ "กลุ่มวัดพรัมบานัน" เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย


“ปรัมมานัน” มหัศจรรย์วิหารฮินดู
โดย : เหล็งฮู้ชง

วิหารปรัมบานัน(Prambanan) หรือวัดปรัมบานันหรือจันทิปรัมบานัน (Candi : ปราสาทหรือเทวาลัย) ที่ความสำคัญและความยิ่งใหญ่ที่ดูน่าอัศจรรย์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ามหาเจดีย์บุโรพุทโธ

ปรัมบานัน ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปรัมบานัน เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยชวาภาคกลาง ราว ค.ศ.ที่ 10 โดยพระเจ้าบาลีตุง แต่จากหนังสือประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ ดี จี ฮอลล์ กล่าวว่า ผู้สร้างปรัมบานันน่าจะเป็นพระเจ้าทักษากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งสมัยชวาภาค กลาง ส่วนเหตุที่สร้างนั้นสันนิษฐานว่า สิ่งก่อสร้างทั้งหมดในเทวาลัยแห่งนี้น่าจะสร้างขึ้นเพื่อเป็นสุสานบรรจุพระ ศพของกษัตริย์และสมาชิกในพระราชวงศ์

ทว่าหลังจากอีกไม่นานปรัมบานันก็ถูกละทิ้งและเสื่อมลงในเวลาต่อมา จนมาในยุคปัจจุบันปรัมบานันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกใน ปี ค.ศ. 1991

ปี ค.ศ. 2006 เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่บนเกาะชวา สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับปรัมบานัน อาคารหลายแห่งโดยเฉพาะเทวาลัยขนาดเล็กที่อยู่รายรอบนั้นพังทลายเสียหายหนัก จนต้องผิดซ่อมแซมไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าชม แต่ว่าปัจจุบันปรัมบานันเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้อีกครั้ง

ปรัมบานันมีชื่อเรียกขาน(ภาษาถิ่น)อีกอย่างหนึ่งว่า “โลโรจงกรัง” มีที่มาจากตำนานพื้นบ้าน ที่ว่ากันว่าโลโรจงกรังเป็นเจ้าหญิงแสนงาม(โลโรจงกรังภาษาถิ่นหมายถึงหญิง สาวร่างอรชร) จึงมียักษ์มาขอแต่งงาน เจ้าหญิงไม่กล้าปฏิเสธ แต่ทรงขอให้ยักษ์สร้างจันทิให้ได้ 1 พันหลังถึงจะแต่งงานด้วย ยักษ์จึงใช้เวทย์มนต์สร้างจันทิจนเกือบจะเสร็จสิ้น ส่วนเจ้าหญิงก็ใช้เวทมนต์ทำลายจันทิเหล่านั้นเพราะไม่ต้องการแต่งงานด้วย ทำให้ยักษ์โกรธจัดจึงสาปเจ้าหญิงให้กลายเป็นหินแล้วนำรูปมาทำประติมากรรม ประดิษฐานอยู่ในปนัมบานันแห่งนี้ ซึ่งชาวบ้านเรียกขานกันว่า“รูปโลโรจงกรัง”

สำหรับความยิ่งใหญ่ของจันทิปรัมบานันนั้น แรกที่ประสบพบเจอก็ทำเอาผมถึงกับอึ้ง ตะลึงงันแล้ว เพราะมันช่างดูอลังการดีแท้ แม้เหล่าจันทิเล็กๆรอบนอกจันทิหลักที่สร้างเรียงเป็น 4 แถวจำนวน 224 หลังส่วนใหญ่จะถูกฤทธิ์เดชของแผ่นดินไหวทำพังทลายเหลือแต่ซาก แต่ว่าก็ยังทิ้งร่องรอยความยิ่งใหญ่ไว้ให้เห็น ยิ่งถ้าทางยูเนสโกบูรณะพลิกฟื้นซากจันทิเหล่านั้นขึ้นมาเป็นรูปร่างได้อีก ครั้ง รับรองว่าจะยิ่งเพิ่มความยิ่งใหญ่อลังการของปรัมบานันให้ขึ้นชั้นสู่ตำแหน่ง ความมหาอลังการเลยทีเดียว

ถัดจากจันทิเล็กเข้าไปก็เป็นเขตจันทิหลักที่มีกำแพงสี่เหลี่ยมมี ประตูทางเข้าทั้ง 4 ทิศ รอบล้อม ภายในกำแพงโดดเด่นไปด้วยจันทิขนาดใหญ่ 3 หลัง ที่ล้วนหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เชื่อกันว่า จันทิองค์กลางที่ใหญ่ที่สุดเด่นที่สุดและสูงที่สุดถึง 47 เมตรนั้นสร้างถวายแด่พระอิศวร มีห้องกลางประดิษฐานรูปพระอิศวร และห้องเล็กๆประดิษฐานรูปพระคเณศวรทางทิศตะวันตก ประดิษฐานรูปพระอิศวรปางมหาโยคีทางห้องทิศใต้ ประดิษฐานรูปนางทุรคาในห้องทิศเหนือ ซึ่งคนพื้นถิ่นเชื่อว่านี่น่าจะเป็นรูปโลโรจงกรัง ส่วนจันทิฝั่งทิศเหนือสร้างแด่พระนารายณ์ และฝั่งทิศใต้สร้างแด่พระพรหม

ในขณะที่ฝั่งตรงข้ามจันทิพระอิศวรเป็นจันทิขนาดย่อม สันนิษฐานว่าเป็นจันทิพาหนะทรงของเทพทั้ง 3 คือโคนนที(พระศิวะ) หงส์(พระพรหม) และครุฑ(พระนารายณ์) แต่ปัจจุบันเหลือเพียงโคนนทีเท่านั้น

อนึ่งเหล่าจันทิหลักในเขตกำแพงนั้นจะมีรูปทรงคล้ายกัน มีเจดีย์ทรงกลีบมะเฟืองอิทธิพลศิลปะอินเดียเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญ จันทิบางหลังสามารถขึ้นไปชมภายในและภาพสลักรอบข้างได้ แต่บางหลังก็ขึ้นไม่ได้เพราะอยู่ช่วงการบูรณะ แต่ก็สามารถเดินชมลวดลายสลักต่างๆจำนวนมากได้โดยรอบ ซึ่งลวดลายส่วนใหญ่จะสลักเป็นเรื่องราวรามายณะ วิถีพื้นบ้าน เทพ เทพี โยคี ฤาษี และสัตว์ในเทพนิยายของฮินดู

นอกจากนี้ก็ยังมีลวดลายที่เป็นแบบฉบับของปรัมบานันโดยเฉพาะ อาทิ ซุ้มรูปสิงห์ที่มีต้นกัลปพฤกษ์อยู่ทั้ง 2 ข้าง และมีรูปกินนรนั่งอยู่ 2 ข้างของต้นกัลปพฤกษ์แต่ละต้น รูปต้นกัลปพฤกษ์มีนกอยู่ 2 ข้าง รูปยักษ์จมูกโตหน้าคล้ายคน รูปหน้ากาลหัวมังกร เป็นต้น

ปรัมบานันถือเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างอันน่าอัศจรรย์ที่แสดงให้เห็นถึงพลังการ สร้างสรรค์และพลังแห่งศรัทธาของมนุษยชาติ แต่ถึงกระนั้นผลงานอันน่าอัศจรรย์ใจของมนุษย์อย่างปรัมบานันก็ยังต้องแพ้ พ่ายต่อแผ่นดินไหวจนเป็นเหตุให้จันทิแห่งนี้พังทลายเสียหายเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากลองมองอย่างพินิจพิเคราะห์ก็จะพบว่า แม้มนุษย์จะมีความสามารถที่น่ามหัศจรรย์แค่ไหน แต่สุดท้ายธรรมชาติก็ยังคงน่าอัศจรรย์และยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์อยู่ดี


จันทิเซวู ซึ่งทางเข้าในเขตวัดจะมีรูปทวารบาลซ้าย – ขวา โดยโบราณจะตั้งหันหน้าเข้าหากัน สร้างรุ่นเดียวกับบุโรพุทโธ ก่อนปรัมบานัน 50-100 ปี ยอดสถูปเป็นแบบทรงกระบอกกลม เป็นรูปสถูปดั่งเดิมที่เก่าที่สุดของโลก เลียนแบบสถูปเก่าที่สุดของโลกที่เมือง สาญจี ในประเทศอินเดีย























































Dieng Plateau
The word Dieng word was formed from Sanskrit words Di (Abode) and Hyang (Gods), so Dieng means Abode of the Gods.



“เดียงพลาโต”(Dieng Plateau)
โดย : เหล็งฮู้ชง

เดียง พลาโต ดินแดนแห่งขุนเขาที่อยู่ไกลจากตัวเมืองยอกยาการ์ต้า(Yogyakata) ไปทางเหนือราวๆ 135 กม. เดียงพลาโตหรือ“ที่ราบสูงเดียง”ถือ เป็นดินแดนอู่ข้าวอู่น้ำสำคัญของอินโดนีเซีย เป็นเทือกเขาอันสงบงาม อยู่บนระดับความสูง 2,093 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี

ด้วยอากาศและภูมิประเทศที่เอื้ออำนวย ชาวบ้านบนนี้จึงเลือกทำการเกษตรบนที่สูง ซึ่งภาพการทำกสิกรรมที่นี่ผมบอกได้คำเดียวว่าน่าทึ่งและน่าอัศจรรย์สุดๆ เพราะเป็นการเพาะปลูกบนที่สูงที่ใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าทุกอณูตารางเมตร ไล่ตั้งแต่ไหล่เขาไปจนถึงยอดเขา แถมยังไม่ได้ปลูกพืชเชิงเดี่ยวหากแต่เป็นการปลูกพืชผักขนาดเล็กผสมผสานทั้ง ชา มันฝรั่ง ยาสูบ ผักกาด พริกหยวก หอม กะหล่ำ มะเขือเทศ ฯลฯ

เรียก ว่าภูเขาทั้งลูกชาวบ้านเขาสามารถเพาะปลูกได้หมด แถมปลูกอย่างมีศิลปะเป็นเชิงชั้นขั้นบันไดไต่ระดับเป็นระเบียบสวยงาม ดูเข้ากันกับบ้านเรือนที่ปลูกสร้างอย่างเรียบง่าย แต่ก็แฝงไว้ด้วยความทรงเสน่ห์อยู่ในที ไม่ว่าจะเป็นสีสันความกลมกลืนต่อภูมิประเทศ การตกแต่งประดับประดา โดยเฉพาะการประดับด้วยกล้วยไม้ กุหลาบหิน และไม้ดอกไม้ใบสีสดใสในหลายบ้านๆนั้น ช่างน่ายล

หากใครมาในช่วงบ่ายสายหมอกหนาจะเข้าปกคลุมกลืนกินเดียงพลาโตจนไม่สามารถ มองเห็นทัศนียภาพได้ชัดเจน

บริเวณ นี้เมื่อมองลงไปจะเห็นแปลงเกษตรขั้นบันได เส้นสายลายถนน และหมู่บ้านบนหุบเขาตั้งโดดเด่นเหนือม่านเมฆที่ลอยอ้อยอิ่ง และสายหมอกขาวโพลนที่ลอยปกคลุมหมู่บ้านจางๆดูแล้วช่างชวนพิศเพริศแพร้วกระไร ปานนั้น


จันทิอรชุน...ปราสาทมหาภารตะ 

จาก ทิวทัศน์ชวนพิศเพลินใจ เราเดินทางไต่ระดับขึ้นไปเพริศแพร้วกันต่อกับโบราณสถานปราสาทหิน“จันทิ ”(Candi)แห่งที่ราบสูงเดียงที่สร้างกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณกว่า 200 แห่ง ซึ่งในอดีตเดียงพลาโต ถือเป็น“เมืองแห่งพระเจ้า”(City of God) แหล่งอารยธรรมฮินดูรุ่นแรกๆในเกาะชวา(ที่รับต่อมาจากอินเดียอีกที)

เมื่อ ราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-12 เทวสถานมากมายถูกสร้างขึ้นที่เดียง โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระเจ้าสัญชัยแห่งราชวงศ์มาตารัม(ค.ศ.732-778)นั้นได้ มีการสร้างกลุ่ม“จันทิอรชุน”ขึ้นมา เพื่อบูชาแด่ท่านอรชุน เจ้าชายวีรบุรุษของฝ่ายปาณฑพในมหาภารตยุทธ

“จันทิอรชุน” เป็นกลุ่มปราสาทหินเล็กๆ 5 หลัง ประกอบด้วย จันทิอรชุน(Candi Arjuna) จันทิเสมาร์(Candi Semar) จันทิศรีกัณฑิ(Candi Srikandi) จันทิปันตาเทวา(Candi Puntadewa) และจันทิเสมบัดรา(Candi Sembadra)

กลุ่ม จันทิทั้ง 5 ซึ่งมีลักษณะเป็นปราสาทฮินดูโบราณสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก มีช่องทางเข้าฝั่งตะวันออกด้านเดียวที่เหลือปิดทึบทำเป็นซุ้มเทพเจ้า อาทิ ซุ้มพระพรหม พระนารายณ์ ส่วนตามทับหลังหน้าต่าง ประตู สลักเป็น“หน้ากาล”จอม กิน หน้าอวบอ้วนแสดงให้เห็นว่าหน้ากาลที่นี่กินอิ่ม กินดีมีสุข ซึ่งทางช่างผู้สร้างอาจต้องการสะท้อนให้เห็นว่าเดียงพลาโตนั้นเป็นแหล่ง อาหารอันอุดมสมบูรณ์ก็เป็นได้

นอกจากจันทิอรชุนแล้ว ในเขตโบราณสถานเดียงยังมีกลุ่มจันทิต่างๆอีก อาทิ จันทิภีมะ(Candi Bhima) จันทิทวารวดี(Candi Dwarawati) จันทิคโตตกัตชะ(Candi Gatotkaca) เป็นต้น































No comments:

Post a Comment